เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การอุบัติขึ้นของ COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจระดับมหภาค รวมถึงธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม ทุกขนาด อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนคนไทยทุกคน รวมถึงธุรกิจที่จะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อรองรับรูปแบบการดำรงชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากสิ่งเดิมที่เราทุกคนคุ้นเคยอยู่เป็นประจำ นั่นคือ เรากำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ New Normal หรือยุคแห่งความจริง ภายหลัง COVID-19 นับจากนี้ พฤติกรรมและค่านิยมของผู้คนในสังคม จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะทุกชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจ ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น ย่อมต้องเดินหน้ายืดหยัด
เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าแก่สังคมต่อไป ดังนั้น ในครั้งนี้ ทีมวิจัยตลาดและเศรษฐกิจของบริษัท เค.ที.พี (ประเทศไทย) จำกัด จะนำเสนอแก่ทุกท่านว่า ปัจจัยอะไรที่สำคัญที่สุดบ้างที่ภาคธุรกิจต้องตระหนักและให้ความสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถวิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว หลัง COVID-19 สิ้นสุดลง แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆคือ
ประเด็นที่ 1
ผู้คนจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น โดยลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เลือกบริโภคเฉพาะสิ่งที่จำเป็น การตัดสินใจซื้อสินค้าจะพิจารณาปัจจัยด้านคุณภาพมากขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง และมีแนวโน้มสำรองเงินเผื่อยามฉุกเฉินที่สูงขึ้น
การศึกษาวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ Sabrina Helm แห่งมหาวิทยาลัย Arizona (University of Arizona) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอมุมมองที่มีต่อผู้บริโภคภายหลังยุค COVID-19 ว่า ประชาชนจะลดการซื้อสินค้าในหมวดต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เช่น หมวดเครื่องประดับ กลุ่มการท่องเที่ยว รวมถึงการจ่ายเงินเพื่อซื้อความบันเทิงนอกสถานที่ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด เพื่อรองรับการปรับตัวเกี่ยวกับอาชีพการงาน รวมถึงประชาชนมีมุมมองต่อภาคธุรกิจแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อเทียบกับ
ยุคก่อนหน้า COVID-19 สืบเนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องประสบภาวะตกงานฉับพลัน รวมถึงสูญเสียอำนาจการใช้จ่ายที่เคยมีอยู่ในมือ ดังนั้น ผู้คนจะเลือกบริโภคเฉพาะสินค้า
ในหมวดที่จำเป็นเท่านั้น เช่น กลุ่มสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Grocery) ของใช้ในบ้านและครัวเรือน รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มเวชสำอางค์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวกาย ซึ่งยังคงถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอยู่สำหรับคนส่วนใหญ่ นี้ ทีมวิจัยตลาดและเศรษฐกิจของบริษัท เค.ที.พี (ประเทศไทย)จำกัด ประเมินว่าสินค้ากลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบไม่มาก และผลที่เกิดขึ้นคาดว่าจะเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น
ในมิติด้านปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้า ผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้อ โดยพิจารณาจากตรายี่ห้อหรือแบรนด์สินค้าที่ตัวผู้บริโภคมีความจงรักภักดีอยู่แล้ว (Brand Royalty) หรือเป็นแบรนด์สินค้าที่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพเท่านั้น ทั้งนี้ ธุรกิจต้องมีการสื่อสารตลาดเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคยังคงมั่นใจในคุณภาพสินค้าและแบรนด์ยี่ห้อนั้น ๆ ขณะที่แบรนด์สินค้าที่ผู้บริโภคไม่มั่นใจด้านคุณภาพ ตัวธุรกิจอาจได้รับมีแนวโน้มผลกระทบอย่างหนักจากการขาดกระแสเงินสด โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์ COVID-19 เนื่องจากผู้บริโภค ซึ่งมีข้อจำกัดมากขึ้นในการใช้จ่าย ไม่กล้าตัดสินใจใช้เงินเพื่อซื้อสินค้าในกลุ่มที่ผู้บริโภคไม่มั่นใจในคุณภาพ รวมถึงผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 ส่งผลให้กลุ่มคนชั้นกลาง รวมถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน (Manual Labor) จำนวนมากต้องตกงาน หรือได้รับผลกระทบจากเงินเดือนค่าจ้างที่ลดลง ทำให้มีแนวโน้มในการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังมากขึ้น นำมาสู่การประเมินแนวโน้มที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ ความต้องการในการสำรองเงินหรือฝากเงินเผื่อใช้ยามฉุกเฉิน (Cash Cushion) ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ดังนั้น ธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งที่คาดว่าจะได้รับผลเชิงบวกภายหลังเหตุการณ์ COVID-19 สิ้นสุดลง คือ กลุ่มธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน สืบเนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงภัยจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่เพิ่มขึ้น ของประชาชน ดังเช่น COVID-19 ที่ได้ส่งผลกระทบกับทุกคนในเวลานี้
ประเด็นที่ 2
การบริโภคผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ (Online Channel) เมื่อเทียบกับช่องทางตลาดแบบดั้งเดิม (Brick and Mortar) จะเติบโตเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากความนิยมและพฤติกรรมความเคยชินของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น
ผลการศึกษาของ McKinsey & Company ซึ่งเป็นหนี่งในบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจชั้นนำของโลก ได้ทำการศึกษามุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อประเด็นต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับ COVID-19 จากกลุ่มตัวอย่างประชากรทั่วโลก ครอบคลุมทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล อเมริกาใต้ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน อิตาลี อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงประชากรในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ โดยผลการศึกษาดังกล่าวได้ระบุชี้ชัดว่า ผลกระทบจากเหตุการณ์ COVID-19 ส่งผลให้ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกมีมุมมองเชิงลบ (Negative) ต่อกำลังซื้อของตนเองในอนาคตข้างหน้าระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เริ่มมีการปรับตัวด้านพฤติกรรมและมีการใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น อาทิ การดูภาพยนตร์ผ่านสื่อออนไลน์ การเล่นเกมออนไลน์ การใช้บริการรับส่งซื้อสินค้าผ่าน Application โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งประชาชนจำนวนมากก่อนหน้าที่เกิดเหตุการณ์ COVID-19 ไม่เคยใช้งานมาก่อน แต่ด้วยสถานการณ์บังคับ ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากการเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว ทำให้ธุรกิจที่อยู่ในช่องทางตลาดออนไลน์ได้รับอานิสงค์ทางบวกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เข้ามาซื้อสินค้า หรือทดลองใช้งาน จึงประเมินได้ว่า สิ่งที่จะเข้ามาเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสังคม หรือที่นักวิชาการใช้คำว่า New Normal คือ ความนิยมในการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ที่จะคงอยู่ตลอดไป โดยไม่มีแนวโน้มลดลงแต่อย่างใด แม้เหตุการณ์ COVID-19 จะจบลงไปแล้วก็ตาม สืบเนื่องจากอรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับ ได้แก่ ความสะดวกในการซื้อสินค้า ราคาสินค้าที่ถูกกว่า ตัวเลือกในการตัดสินใจเปรียบเทียบที่มีจำนวนมาก ระบบความปลอดภัยในการชำระเงินของ Online Marketplace ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับในอดีต
ธุรกิจที่จะได้รับผลประโยชน์จาก COVID-19 จึงต้องปรับตัวสู่การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อติดตามผู้บริโภคที่เปลี่ยนพฤติกรรม และต้องรู้จักใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่มีอย่างหลายหลายในปัจจุบัน ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ อาทิ Facebook Instagram Line รวมถึง Online Marketplace โดยต้องเลือกให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ ทีมวิจัยตลาดและเศรษฐกิจ บริษัท เค.ที.พี (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินว่า กลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทางบวก ภายหลังเหตุการณ์ COVID-19 ประกอบด้วย กลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ กลุ่ม Online Media Agency กลุ่มผู้ให้บริการทำการตลาดออนไลน์ (Content Creator) รวมถึงกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งที่พึ่งพิงตลาด Online (Logistic Service Provider)เป็นต้น
สินค้าพรีเมียมที่มีเอกลักษณ์ จะช่วยโปรโมทและนำเสนอให้ธุรกิจของท่านมีความน่าสนใจ สร้างความแตกต่างและโดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง เป็นรูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะองค์กรชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งต้องการสร้างการจดจำด้านแบรนด์สินค้า ส่วนใหญ่มี Mascot หรือ Logo องค์กร และผลิตสินค้าพรีเมียมในรูปแบบดังกล่าวออกมา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
บริษัท เค.ที.พี (ประเทศไทย) จำกัด เราอยู่เบื้องหลังสินค้าพรีเมียมขององค์กรชั้นนำของไทยเป็นจำนวนมาก กว่า 30 ปีที่สั่งสม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ด้วยขึ้นชื่อของการเป็นโรงงานผู้ผลิตสินค้าพรีเมียมพลาสติกชั้นนำของประเทศ เราพร้อมสนับสนุนการสร้างธุรกิจของท่าน ภายหลัง COVID-19 และขอโอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างรอยยิ้มแก่สังคมไทยอีกครั้ง
อ้างอิง
[1] https://uanews.arizona.edu/story/covid19-has-changed-consumer-behavior-what-does-it-mean-future
[2] https://www.mckinsey.com/business-functions/marketing-and-sales/our-insights/a-global-view-of-how-consumer-behavior-is-changing-amid-covid-19